เลือกหน้า

ไผ่พุง

กับเศรษฐกิจชุมชนแก้จนได้

ชุมชนบ้านคำสมบูรณ์ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

              ไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง มีศักยภาพในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงและผลิตออกซิเจนได้มากกว่าป่าธรรมชาติเมื่อเทียบกับการนำไผ่ในพื้นที่เท่ากับถึง 30 เปอร์เซ็น และเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น อาคาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยเป็นต้น

               บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี หมู่ที่ 17 เป็นหมู่บ้านที่แยกออกมาจากบ้านหนองกบ มีพื้นที่ป่าของชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก – ยอดมน ราษฎรมีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรม การดำรงชีวิตของราษฎรมีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านการเก็บหาของป่าเป็นอาหาร การล่าสัตว์ การตัดไม้ เป็นต้น และราษฎรในชุมชนยังได้มีอาชีพเสริมซึ่งสร้างรายได้ให้กับทุกครัวเรือนนั้นคือ ผลิตภัณฑ์ด้านการจักสาน เช่น การสานหวด สานกระด้ง กระติ๊บข้าว เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่พุง แหล่งไม้ไผ่พุงโดยส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ของป่าอนุรักษ์ ราษฎรบางส่วนมีการบุกรุกป่าอนุรักษ์เพื่อตัดไม้ไผ่พุง ทำให้ไม้ไผ่พุงที่มีตามธรรมชาติลดลงอย่างมาก และก่อให้เกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลป่าอนุรักษ์ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าชุมชนอย่างมาก

                ชุมชนมีความสนใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (สสอ.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 , 2564  และ 2565 ต่อสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) โดยได้เสนอแนวคิดส่งเสริมการปลูกไผ่พุงเพื่อลดการเข้าไปตัดไม้ไผ่จากป่า และนำไม้ป่าหลายชนิดที่สามารถให้เชื้อและเป็นแหล่งเพาะเห็ด เป็นพืชอาหาร เปรียบเสมือนการ “ยกป่ามาไว้ที่บ้าน” การปลูกไผ่ของชุมชนยังมีส่วนช่วยเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ และผลิตออกซิเจนได้เพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยลดโลกร้อนได้

ไผ่พุง

                     มีลักษณะลำต้นสูงประมาณ 8 – 12 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 5- 8 ซม. ปล้องมีความยาว 50 – 130 ซม. ข้อเรียบมีกิ่งก้านบริเวณช่วงปลายลำต้น เนื้อไม้มีความหนาประมาณ 1 ซม. ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่บนภูเขาตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา ด้านอำเภอสิรินธร บุณฑริก นาจะหลวย น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นไผ่ที่มีลำต้นอ่อนจึงนิยมขึ้นแทรกอยู่กับไม้ชนิดอื่น เพื่ออิงอาศัยป้องกันการล้ม  และมีปล้องที่ยาวยิ่งขึ้น

                       ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แขนงหรือตอของลำต้น  หลังจากปลูกลงดินประมาณ 6 ปีสามารถตัดลำต้นมาใช้ในการจักสานได้

                        ประโยชน์  หน่อใช้รับประทาน ลำต้นใช้ทำสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวเนื่องจากตากแดด ฝนจะผุเร็ว  ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการจักสาน (หวดนึ่งข้าวเหนี่ยว กระติ๊บ) เนื่องจากทำตอกง่าย ตอกมีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่มีข้อในเส้นตอก ทำให้จักสานได้ง่าย

                         ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อปลูกในที่ดินทำกินของราษฎร โดยเฉพาะในสวนยางพารา

เศษฐกิจชุมชนแก้จนได้

  หัตถกรรม 

– ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ได้แก่ กระจาด กระบุง กระด้ง กระเช้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ตะกร้าใส่ขยะ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา ลอบ ไซ ฯลฯ ทั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่า จากไผ่ได้ดีอีกด้วย ซึ่งสามารถ สร้างรายได้เสริมให้แก่ราษฎร

ขายลำไผ่

– อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร ใบไผ่มีสาร ที่เป็นตัวยาปกป้องเส้นเลือด ที่สมองและหัวใจ ปรับระดับ ไขมันและลดความหนืดของเลือด – อยู่ระหว่างที่ชุมชนกำลังศึกษา เพื่อผลิตเป็นสินค้าชุมชน

อาหาร

– การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็น อาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก ลดค่าใช่จ่ายในการซื้ออาหาร

ยารักษาโรคและน้ำจากไผ่

– ปี พ.ศ.2563 ชุมชนซื้อไผ่มาเป็น วัตถุดิบจากแหล่งอื่น ประมาณ 10,000 ลำ หากสามารถ ปลูกและผลิตขายได้จะลดค่าใช้จ่ายในการซื้อไผ่ มีรายได้ อย่างน้อย 500,000 บาท (ลำละ 50 บาท)และสามารถสร้าง รายได้เพิ่มเติมจากการขายไม้ไผ่ที่เป็นผลผลิตสินค้าที่เกิน ความต้องการ

ผลิตกล้าไผ่ขาย

– ปริมาณไม้ไผ่พุงมีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในการสานหวด และหัตถกรรมจักสาน และราษฎรทั้งในชุมชนและชุมชนข้างเคียง มีความต้องการปลูกไว้ในพื้นที่ตนเอง เพื่อลดการซื้อจากภายนอก

ที่อยู่อาศัย

– สามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องแปรรูปและแปรรูป สร้างเป็นบ้านเรือนที่พักอาศัย

ลดโลกร้อน

– มีผลการศึกษาว่าป่าไผ่มีศักยภาพในการ ดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงและ ผลิตออกซิเจนได้มากกว่าป่าธรรมชาติ ได้ถึง ร้อยละ 30 และภายภาคหน้าอาจมีการผลักดัน ให้มีการมอบผลประโยชน์ในการปันส่วนคาร์บอน เครดิตจากป่าไผ่ที่ราษฎรปลูก

อนุรักษ์ธรรมชาติ

  • ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
  • ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
  • ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่า เมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
  • ช่วยปกป้องและฟื้นฟูดิน น้ำ และป่า