หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิง
หลักการและเหตุผล
หน่วยจัดการต้นน้ำหน่วยเสียดจะเอิงจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2532 โดยเป็นหน่วยย่อยของหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยโตงขึ้นกับฝ่ายปรับปรุงต้นน้ำ สำนักงานป่าไม้อุบลราชธานี ปี พ.ศ.2537 หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิงโอนไปขึ้นกับกองอนุรักษ์ต้นน้ำกรมป่าไม้และต่อมากรมป่าไม้แบ่งเป็นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช หน่วยจัดการต้นน้ำขึ้นกับส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
วัตถุประสงค์
- เพื่อสำรวจและประเมินผลทรัพยากรป่าไม้และสมรรถนะที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ
- เพื่อป้องกันรักษาป่าต้นน้ำและปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
- เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบนพื้นที่ต้นน้ำ
- เพื่อถ่ายทอดความรู้และวิธีการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมและเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนต้นน้ำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อลดมลพิษ โดยการสร้างพื้นฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนต้นน้ำ
- เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนและสถานศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ป่าต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
- พื้นที่ป่าและระบบนิเวศต้นน้ำได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูเป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์
- ราษฎรในพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำเกิดจิตสำนึกรักหวงแหน ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
- ราษฎรในพื้นที่ป่าต้นน้ำมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- พื้นที่ป่าในชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดแหล่งไม้ใช้สอยแหล่งอาหารในพื้นที่ป่าชุมชน และที่ดินทำกินของราษฎร ลดการพึ่งพิงพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ปรัชญาของหน่วยงาน
“เก็บน้ำไว้ในดินเก็บดินอยู่กับที่ ต้นน้ำไทยจะมีความยั่งยืนตลอดกาล”
วิสัยทัศน์
พื้นที่ต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิง ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและจัดการแบบบูรณาการ
เพื่อเอื้ออำนวยน้ำที่ดี ทั้งปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลาการไหล ให้เป็นรากฐานในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
- อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำให้คงสภาพความสมบูรณ์
- ฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำที่เสื่อมโทรมให้ได้รับความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
- พัฒนาฐานข้อมูลทางวิชาการและสารสนเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำ
- สร้างจิตสำนึกและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ
เป้าประสงค์
เพื่อให้พื้นที่ต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิงได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เอื้ออำนวยน้ำที่ดีทั้งปริมาณ คุณภาพ และระยะเวลาการไหล สร้างประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทางด้านอุปโภค บริโภค การเกษตร และชุมชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำร่วมกันดูแลรักษา
กลยุทธ์
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศป่าไม้ และพื้นที่อนุรักษ์รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ
- เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและป้องกันพื้นที่อนุรักษ์
- พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการในการอนุรักษ์และการจัดการต้นน้ำ
- พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีประสิทธิภาพ
อัตรากำลัง
ข้าราชการ จำนวน 1 คน
พนักงานราชการ จำนวน 7 คน
พนักงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 6 คน

นายอำนาจ ขำทวีพรหม
หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิง
พื้นที่รับผิดชอบ
หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยเสียดจะเอิง ที่ทำการหน่วยตั้งอยู่ที่พิกัด 48pua 838980 บ้านชำปะโต หมู่ 3 อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 705 ตร.กม. หรือประมาณ 440,625 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ลุ่มน้ำย่อยได้แก่ ลุ่มน้ำห้วยเสียดจะเอิง มีพื้นที่ประมาณ 280 ตร.กม.หรือประมาณ 175,000ไร่ ลุ่มน้ำห้วยเสน มีพื้นที่ประมาณ 247 ตร.กม.หรือประมาณ 154,375 ไร่ ลุ่มน้ำห้วยสิงห์ พื้นที่ประมาณ 178 ตร.กม. หรือประมาณ 111,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวเชด,จรัส,อาโพน,สะเดา,อำเภอบัวเชด ตำบลเทพรักษา,บ้านจารย์ ตาตุม,บ้านชบ,อำเภอสังขะและตำบลบ้านด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ ท้องที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ทิศใต้ ติดกับ ประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสำราญ
ทิศตะวันตก ติดกับ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยโตง