เลือกหน้า

หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย – ห้วยหลวง

ประวัติความเป็นมา

   ในปี พ.. 2537 เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำลำมูล อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้มาสำรวจพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา บริเวณทางด้านทิศใต้ของบ้านแซรสะโบว์ บ้านกลาง และบ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก และบ้านโอปังโกว์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้มีราษฎรบุกรุกแผ้วถางเพื่อยึดถือครอบครองทำไร่มันสำปะหลัง และปลูกยูคาลิปตัส จนทำให้พื้นที่โล่งเตียนเสื่อมโทรมหากปล่อยไว้โดยไม่ควบคุมจะทำให้ป่าถูกทำลายมากขึ้น  จึงได้จัดทำแผนเพื่อที่จะฟื้นฟูพื้นที่ป่าบริเวณนี้ และจัดตั้งหน่วยจัดการต้นน้ำขึ้นมาเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ  โดยเบื้องต้นได้ตั้งหน่วยย่อยของหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยแก้ว มาควบคุมและฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกแผ้วถางตลอดจนวางแผนจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินเสียใหม่โดยมาตั้งหน่วยชั่วคราวอยู่ที่ด้านทิศตะวันออกของบ้านแซรสะโบว์ ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีอนามัยบ้านแซรสะโบว์) และในปีงบประมาณ พ.. 2537  ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน 250 ไร่ ต่อมาในปีงบประมาณ พ..2538 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณให้ตั้งหน่วยจัดการต้นน้ำขึ้นใหม่ ชื่อว่า หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย ซึ่งเป็นชื่อลำห้วยของหมู่บ้าน และปี พ.. 2540 ได้คืนพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานชั่วคราวให้ชุมชนเพื่อก่อสร้างสถานีอนามัยบ้านแซรสะโบว์และย้ายที่ทำการไปตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอ่างเก็บน้ำแซรสะโบว์ ณ เลขที่ 164 หมู่ที่ 6 ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พิกัดแผนที่ระวาง 5837 IV 48P 0406670E 1599528 N สังกัดศูนย์จัดการต้นน้ำที่ 18 ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.. 2545 ทำให้หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย ถูกโอนไปสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบัน

หลักการและเหตุผล

   หน่วยจัดการต้นน้ำ เป็นหน่วยงานในสังกัด ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๙ (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีหน้ที่ปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งในปีงบประมาณ พศ.๒๕๖๒ ได้รับแผนงานในการบริหารจัดการพื้นที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงาน ในขอบเขตลุ่มน้ำห้วยสวาย-ห้วยหลวง ดังนั้นการดำเนินงานนอกจากจะมีการบริหารจัดการด้านการปลูกป่า ดูแลพื้นที่สวนป่า ตามกิจกรรมต่างๆ แล้ว หน่วยฯยังมุ่งนั้นด้านการจัดกาชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มีจิตสำนึกในการรักและหวงแหนผืนป่าในท้องถิ่นของตน โดยให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานที่ได้รับ และยังมีการให้ความรู้ด้านการจัดการไฟป่า การเพาะชำกล้าไม้ ตลอดจนร่วมปลูกป่าตามกิจกรรมวันสำคัญของชุมชน จึงเห็นสมควรดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้รับ ให้เป็นไปตามแผนงานและตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการจัดการทรัพยากรรรมชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืนสืบไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อป้องกันดูแลรักษาพื้นที่ป่าไม้
  2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานบริหารของหน่วยจัดการต้นน้ำในพื้นที่รับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย ให้คืนสภาพและมีลักษณะนิเวศที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่อไป
  2. ส่งเสริมให้ความรู้ เสริมสร้างจิตรสำนึก ให้ชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำและใกล้เคียงเล็งเหโนความสำคัญของพื้นที่ป่าต้นน้ำ และมีส่วนร่วมในการจัดการละอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  3. ควบคุมดูแล ให้คำแนนนำและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เข้ามาใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ส่งผลกรพะทบต่อคุณภาพของต้นน้ำและสภาพแวดล้อมอื่นๆ
  4. วางแผนการจัดการ พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำ ลำธาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ตามแผนงานและนโยบายของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังนี้

  1. ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย ให้คืนสภาพและมีลักษณะทางนิเวศน์ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่อไป
  2. ส่งเสริมให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสำนึก ให้ชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำและใกล้เคียงเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำ และมีส่วนร่วมในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
  3. ควบคุม ดูแล ให้คำแนะนำ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่เข้าทำประโยชน์บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของต้นน้ำ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ
  4. วางแผนการจัดการ พัฒนาและฟื้นฟู พื้นที่ต้นน้ำ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ  (Vision and  Mission)

หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย-ห้วยหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)  ดังนั้น การดำเนินงานได้ยึดตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)   ดังนี้

วิสัยทัศน์

“ระบบนิเวศหลากหลาย  ทุกภาคส่วนร่วมใจ  อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้ยั่งยืน”

พันธกิจ

  1. ปกป้อง ดูแล ฟื้นฟู  ทรัพยากรป่าไม้  สัตว์ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์และสมดุลตามธรรมชาติ
  2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
  3. ส่งเสริม วิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. พัฒนาองค์กร บุคลากร ให้มีขีดสมรรถนะและศักยภาพในการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

วัฒนธรรมองค์กร

สามัคคี  พิทักษ์ไพร  เป็นมิตร จริงใจ  เคารพไหว้ อาวุโส

ค่านิยมองค์กร

ร่วมใจทำงาน  บนฐานข้อมูล  เพิ่มพูนความรู้  คู่คุณธรรม

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่

ข้าราชการ               จำนวน        1        คน

ลูกจ้างประจำ           จำนวน       1        คน

พนักงานราชการ      จำนวน      2        คน

พนักงานจ้างเหมา    จำนวน     8        คน   

นางสาวสุธิดา  บุตรภักดิ์
หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย – ห้วยหลวง

พื้นที่รับผิดชอบ

     หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสวาย มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 431,443.75 ไร่ หรือประมาณ 690.31 ตารางกิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่ 9 ตำบล 4 อำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ตำบลดงรัก ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ ตำบลกันทรอม ตำบลห้วยจันทร์ และตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ และตำบลละลาย ตำบลรุง ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ปฏิบัติงานครอบคลุมลุ่มน้ำห้วยติ๊กชู ลุ่มน้ำห้วยทา และลุ่มน้ำห้วยขะยูง เฉพาะในส่วนที่เป็นภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เนื้อที่ประมาณ 209,884 ไร่ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เนื้อที่ประมาณ 207,101 ไร่ และอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารบางส่วน เนื้อที่ประมาณ 14,458.7 ไร่

     ทิศเหนือ        ติดต่อกับ   ตำบลห้วยติ๊กชู ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ ตำบลกันทรอม ตำบลห้วยจันทร์ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ ตำบลละลาย และตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

     ทิศใต้             ติดต่อกับ   ประเทศกัมพูชา

     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ และอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  จังหวัดศรีสะเกษ

     ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสำราญ ตำบลไพรพัฒนา  ห้วยตามอญอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ